บ้านไก่ชน
หน้าแรก
ข่าวสาร
เปรียบไก่
โปรแกรมการแข่งขัน
ถ่ายทอดสด
คลิปย้อนหลัง
รายการบ้านไก่ชน
สมัครสมาชิก
login เข้าสู่ระบบ
ย้อนกลับหน้า ข่าวสาร
คลินิกไก่ชน " แม่ไก่กินไข่....ความเสียหายถ้าไม่เฝ้าระวัง"
วันที่อัพเดต :
04/07/2568 21:57:34
#บ้านไก่ชน
#ข่าวสารไก่ชน
#บกแจ็ค
#คลินิกไก่ชน
#แม่ไก่กินไข่ความเสียหายถ้าไม่เฝ้าระวัง
คลินิกไก่ชน
ดำเนินเรื่องโดย บกแจ็ค
แม่ไก่กินไข่....ความเสียหายถ้าไม่เฝ้าระวัง
สาเหตุหลักของพฤติกรรมไก่กินไข่
การที่ไก่ตัวเมียกินไข่ของตัวเองหรือของไก่ตัวอื่นในเล้า ถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ และหากปล่อยไว้นานจะกลายเป็นนิสัยติดตัวได้ ส่งผลเสียอย่างมากต่อการขยายพันธุ์ โดยเฉพาะในกรณีของไก่ชนสายพันธุ์ดี ซึ่งแต่ละฟองมีมูลค่าสูง
สาเหตุที่พบได้บ่อย
1.
ขาดแร่ธาตุหรือสารอาหาร โดยเฉพาะ แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, โปรตีน, และ วิตามิน D3
ไก่อาจต้องการสารอาหารจากไข่เพื่อชดเชยความขาดแคลนในร่างกาย
2.
พื้นที่วางไข่ไม่เหมาะสม พื้นที่แคบ, มีแสงสว่างจ้าเกินไป หรือไม่มีวัสดุปูรอง ไข่ตกระแทกแล้วแตก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของนิสัยกินไข่
3.
ความเครียดหรือเบื่อหน่าย อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด เสียงดัง หรือถูกรบกวนบ่อย
ขาดสิ่งให้เล่นหรือกระตุ้นพฤติกรรมตามธรรมชาติ เพราะปกติตัวเมียจะฟักไข่ในที่ที่ลับตาและปลอดภัย
4.
พฤติกรรมเลียนแบบ
หากมีไก่ตัวใดตัวหนึ่งเริ่มกินไข่ก่อน ตัวอื่น ๆ อาจเลียนแบบตาม แล้วจะกินไปแล้วติดใจคราวนี้ช่วยกันกินทั้งรังไข่ที่ฟังอยู่แน่นอน
แนวทางการป้องกัน
1.
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการวางไข่จัดทำ รังวางไข่ให้มืด, เงียบ และ มีวัสดุรองนุ่ม เช่น ฟางแห้ง เลือกรังที่มีพื้นลาดเอียงให้ไข่กลิ้งออกไปยังกล่องเก็บอัตโนมัติด้านหน้า
(ถ้ามีระบบนี้)
2.
ให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนอาหารไก่ไข่หรืออาหารเสริมสำหรับแม่พันธุ์
เพิ่ม เปลือกหอยบด, กระดูกป่น, หินปูนบด เพื่อเสริมแคลเซียม อาจให้ไข่ต้มบดผสมรำหรือข้าวโพดป่น
(อย่าให้ไข่ดิบ)
เพื่อเสริมโปรตีน
3.
เก็บไข่ให้เร็วที่สุด มันใช่แล้วเก็บหมั่นเก็บไข่วันละ โดยเฉพาะในช่วงเช้า อย่าปล่อยไข่ไว้ในรังนาน เพราะจะเป็นเป้าหมายให้ไก่จิก หรือใช้กรงแบบใครแล้วกลิ้งลงมาในรางเก็บเพื่อเอาไปฟัก
4.
ลดความเครียด จัดเล้าให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเท และลดเสียงรบกวน ให้หญ้าเขียวหรือของเล่นธรรมชาติ เช่น ข้าวโพดแขวนให้จิกเล่น
5.
สังเกตและแยกแกนนำตัวที่กินไข่ หากพบตัวใดกินไข่บ่อย ให้แยกออกจากฝูงก่อนลองเปลี่ยนอาหาร, สภาพเล้า และสังเกตพฤติกรรมอีกครั้ง
6.
ใช้ไข่ปลอมที่เป็นพลาสติกวางไว้แทนหรือปนๆกับไข่จริง อีกวิธีคือใส่กิ๊บหนีบจมูกเพื่อบังตาไม่ให้ใจจิกไข่ได้
เพียงถ้าท่านสังเกตถึงพฤติกรรมการวางไข่ และแก้ไขด้วยความเข้าใจในธรรมชาติ ก็จะได้ผลผลิตลูกไก่ออกมาแบบไม่เสียหายและไม่เสียเวลา ลองเอาไปปฏิบัติตามดูนะครับวิธีไหนใช้ได้ผลก็ใช้วิธีนั้น
Ready to Leave?
×
คลิกปุ่ม "Logout" เพื่อสิ้นสุดการทำงาน.
เปลี่ยนรหัสผ่าน
×