คลินิกไก่ชน "การเกิดตะคริวในระหว่างชนในสนาม"

คลินิกไก่ชน

ดำเนินเรื่องโดย หมอไก่


การเกิดตะคริวในระหว่างชนในสนาม สาเหตุและการรักษา    

      ผมเชื่อว่าไม่น่าจะมีผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างละเอียดจึงเรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ผู้เพาะเลี้ยงและคนในวงการเข้าใจถึงสาเหตุ วิธีการป้องกัน ตลอดจนแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย พร้อมแนะนำตัวยาและอาหารเสริมที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อประโยชน์ของผู้ที่เลี้ยงไก่ออกชน เพราะผมเข้าใจว่าเวลาที่มันเกิดตะคริว แล้วโดนคู่ต่อสู้ตีซ้ำแล้วซ้ำอีกมันเจ็บปวดแค่ไหนในความรู้สึกของคนที่เป็นเจ้าของ ราคายิ่งเบียดๆกันอยู่ตะคริวก็มาเกิดกับตัวของเรา อย่ามัวแต่โทษโชคชะตา โทษฟ้าโทษฝนเลยครับ ลองอ่านบทความนี้แล้วเอาไปปรับกับการเลี้ยงของท่าน แต่ถ้าเหตุการณ์นี้มันไม่เกิดขึ้นกับท่านผมก็ยินดีด้วย แต่ถ้ามันเคยเกิด และแน่นอนว่าเกิดขึ้นอีกแน่ๆ เพราะการเลี้ยงที่ไม่ถูกวิธี ลองศึกษาจากบทความนี้นะครับ
     อาการของตะคริวในไก่ชน
ตะคริวในไก่ชนมักเกิดขึ้นในระหว่างชน โดยมีอาการเด่นชัด 2 ลักษณะคือ
    1. ตะคริวที่ปีกไก่จะอ้าแขนปีกด้านใดด้านหนึ่งค้างอยู่โดยไม่สามารถพับเก็บได้ตามปกติ มีอาการยกปีกหรือกระตุกปีกเหมือนเจ็บ หรือบางครั้งก็ยืดออก คือรู้เลยว่าเป็นตะคริวและเกิดอาการผิดปกติทำให้เสียสมดุลในการหลบหลีกตอบโต้และป้องกันตัวเอง
    2. ตะคริวที่ขาและนิ้วเท้านิ้วทั้ง 4 จะกำแน่นหรือบิดงอผิดปกติเดินกะเผลกหรือเดินไม่ได้ เลยมีอาการทรุด นั่ง ไม่ยอมสู้ แม้ยังมีแรงก็ตาม อาจจะเป็นๆหายๆ แต่ก็สร้างความลำบากในการตี อย่าว่าแต่จะไปตีเขาเลย เป็นแล้วยืนให้ได้ก่อนเถอะ
    สาเหตุของการเกิดตะคริว
อาการตะคริวในไก่ชนเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันดังนี้ 
.....ภาวะขาดเกลือแร่และอิเล็กโทรไลต์โดยเฉพาะโพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
.....การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ระหว่างชนการสูญเสียเหงื่อและความร้อนสะสม ส่งผลให้สมดุลในร่างกายเสียหาย
.....การฟิตซ้อมที่หักโหมหรือไม่สมดุล ขาดการยืดเส้น ยืดกล้ามเนื้อก่อนชน หรือซ้อมหนักติดต่อกันหลายวัน
.....อุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินไป อากาศร้อนจัด ไม่มีการทำตัวให้ชินอุณหภูมิ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการเกร็ง
    แนวทางการป้องกัน
การป้องกันตะคริวสามารถทำได้อย่างเป็ระบบ.
......1. ฟิตซ้อมอย่างเหมาะสม ซ้อมอย่างมีตารางเวลา หลีกเลี่ยงการซ้อมหนักในวันที่อากาศร้อนจัด มีการวอร์มร่างกายก่อนซ้อมทุกครั้ง อาจจะเป็นการวิ่งสุ่มซัก 3-5 นาที
......2 ให้เกลือแร่และอิเล็กโทรไลต์อย่างต่อเนื่อง
ควรให้เกลือแร่ชนิดละลายน้ำให้กินวันเว้นวันในช่วงฟิตซ้อมก่อนชน 1-2 วัน อาจเสริมเกลือแร่สูตรเข้มข้นสำหรับไก่กีฬา
.....3. ให้ไก่ได้พักผ่อนเต็มที่ก่อนวันชน หลีกเลี่ยงการเดินไก่หรือซ้อมในวันก่อนหน้า ตรวจดูสภาพร่างกายโดยรวมประกอบไปด้วยว่าพร้อมหรือไม่
.....4. ควบคุมอาหารให้สมดุล อาหารต้องมีโปรตีนเพียงพอ ไม่มันเกินไป และไม่ขาดธาตุอาหารรอง ซึ่งเรื่องของตารางอาหารและโปรแกรมรวมถึงสัดส่วนที่เหมาะสมผมเขียนไว้ในตอนที่แล้วลองไปอ่านดูครับ
     การรักษาเมื่อไก่เกิดอาการตะคริว....
หากไก่เกิดตะคริวระหว่างชนหรือหลังชน ควรดำเนินการดังนี้
.....1.  ใช้วิจารณญาณความเป็นเจ้าของไก่ถ้ากรณีซ้อมหรือไล่อันแบบราคาถูกและอาการของตะคริวเกิน 5 นาทีแล้วยังไม่มีท่าทีว่าดีขึ้นเลย และถ้าเป็นไก่ตัวรักหรือมีมูลค่า จะจับหรือไม่จับก็แล้วแต่ความเป็นเจ้าของ แต่ถ้าในสนามมาตรฐาน ลักษณะนี้ปล่อยให้หมดยกแล้วค่อยแก้ไขดีกว่าครับ
.....2.  กรณีถ้าเกิดที่นิ้ว ให้ใช้ขนไก่ดามไปที่นิ้วทุกนิ้วใช้พลาสเตอร์สนามล็อคแต่ละข้อนิ้วให้ยืดไว้เพื่อป้องกันการหดเกร็งจะช่วยให้ไม่เสียการทรงตัว
.....3.  ใช้ความร้อนดูอุณหภูมิที่เหมาะสมแบบพออุ่นๆนวดเบา ๆ ตรงจุดที่เป็นตะคริว ลองใช้มือช่วยยืดและหดเพื่อคลายเส้น
.....4. ให้ยาละลายเกลือแร่ (เช่น โซเดียมคลอไรด์ + กลูโคส + โปแตสเซียม)
ป้อนทางปากหรือผสมในน้ำดื่ม 5–10 มล. ต่อครั้ง (สำหรับไก่ 2.5–3 กก.)
    ...ยาและอาหารเสริมแนะนำ....
ประเภทรายการที่แนะนำวิธีใช้
.....เกลือแร่ชนิดละลายน้ำ Rehydration Salts, Vitalyte, Dexolyte ผสมในน้ำดื่มวันเว้นวันช่วงฟิตซ้อม
.....วิตามินรวม + เกลือแร่ 
.....วิตามิน B1, B6, B12 + แคลเซียม +แมกนีเซียม เสริมสัปดาห์ละ 2–3 ครั้ง
.....ยานวดหรือเจลคลายกล้ามเนื้อยานวดไก่ที่มีเมนทอล + การบูร แบบที่มีกลิ่นอ่อนใช้นวดครึ่งหลังซ้อม 
    หลังปล้ำหลังออกกำลังกายอย่างหนัก
.....สมุนไพรพื้นบ้านเสริมกล้ามเนื้อขมิ้นชัน , บัวบก , ฟ้าทะลายโจรบดผสมอาหาร เสริมภูมิคุ้มกันและลด
     อักเสบ
     **อาการตะคริวในไก่ชนไม่ใช่แค่ปัญหาเล็กน้อย แต่เป็นจุดเปลี่ยนของเกมที่อาจพลิกผลแพ้ชนะได้ ผู้เลี้ยงควรให้ความสำคัญตั้งแต่การป้องกัน ฟิตซ้อมอย่างสมดุล เติมเกลือแร่อย่างเหมาะสม และเตรียมร่างกายไก่ให้พร้อมที่สุดก่อนลงสนาม ถ้าไก่ในซุ้มของท่านช่วงซ้อมช่วงปล้ำหรือบางตัวเป็นในระหว่างชน นั่นหมายความว่าวิธีการฝึกซ้อมที่ซุ้มของท่านควรจะปรับปรุงหรือเพิ่มในส่วนของวิตามินและอาหารเสริมที่จำเป็นเพื่อป้องกันการเป็นตะคริว เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเองนะครับ